ประวัติ

ประวัติความเป็นมา

 ในสมัยดึกดำบรรพ์  ชาวสปาร์ต้า  จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวย,  ยิงธนู,  วิ่ง,  ขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ   เต้นรำ  ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ  ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)  
            การเต้นรำแบบบอลรูม  เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่  1  ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า  โวลต้า”  (Volta)   ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน  การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย  ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616)  อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี  ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่  5  ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า  โคแรนโท หรือ  โคแรนเท”  (Courante)  
            สมัยศตวรรษที่  17  การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น  จอห์น  วีเวอร์  และ  จอห์น  เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford)  เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง  900  แบบอย่าง
            แซมมวล  ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704)  ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่  2  และได้บันทึกไว้เมื่อ  ค..1662  ถึงงานราตรีสโมสร  ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่  2  ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น โคแรนโท”  (Coranto)  
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า  คองเทร  ดองเซ่ (Conterdanse)  พระเจ้าหลุยส์ที่  14  ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz)  ได้เริ่มขึ้นประมาณ  ค.. 1800  เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80)  การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ  ต้องต่างคนต่างไป  และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า  4  ครั้ง ไม่ได้  หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ  สีขาว  จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20  นิโกรในอเมริกา  มีบทบาทมากทางด้านดนตรี  และลีลาต่างๆ  ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา  ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ  (Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ  และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age)  สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่  1  ใหม่ๆ  ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ  กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้  คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า  แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร 
            ต่อมาประมาณปี ค..1929  มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน  4  จังหวะ  (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น  5  จังหวะ)  ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz)  ควิกสเต็ป (Quickstep)  แทงโก (Tango)  และ ฟอกซ์ทรอต  (Fox-trot)  
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน  4  จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล  ก็จะเป็น  5  จังหวะ)  คือ  รัมบ้า  (Rumba)   ชา   ชา  ช่า   (Cha – Cha – Cha)  แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive)   โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น     แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน  และไจว์ฟจากอเมริกา















Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น